X
MENU

Bachelor of Science Program in Radiological Technology

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

011-scaled.jpg

ภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Radiological Technology

>> รายละเอียดเพิ่มเติม <<

          ปัจจุบันการสร้างภาพทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยแพทย์วินิจฉัย และรักษาโรคในผู้ป่วย ทำให้ประเทศไทยต้องการกำลังคนในสายงานรังสีวิทยาเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้บุคลากรด้านรังสีวิทยาโดยเฉพาะนักรังสีเทคนิคเป็นที่ต้องการและถือเป็นวิชาชีพ ขาดแคลนในประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังกล่าว วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงได้จัดตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิคขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2560 จำนวน 37 คน

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อสร้างภาพหรือการรักษาโรคทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ มีจรรยาบรรณและเจตคติที่ดีตามมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค

3. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพในการใช้รังสีทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัยจากผลของรังสีทั้งกับตนเองและผู้อื่น

4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้

  • เรียนรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านและเครื่องมือทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • เรียนรู้กับเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  • หลักสูตรผ่านการรับรองจาก กรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิค บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนและสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค
  • มีโครงการส่งเสริมให้นักศึกษาไปฝึกประสบการณ์ด้านวิชาชีพยังต่างประเทศ

 

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้และมีทักษะทั้งทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ สามารถประกอบวิชาชีพได้ทั้งนักรังสีเทคนิค นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงทางด้านรังสีวิทยา ฟิสิกส์การแพทย์ เพื่อเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการทางด้านรังสีวิทยาหรือเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรรังสีเทคนิคเช่นเดียวกัน

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค สามารถประกอบอาชีพ ได้แก่
1. นักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์
2. นักวิจัย หรือนักวิชาการที่ทำงานวิจัยด้านรังสีวิทยา
3. ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้สนับสนุนการขาย ในบริษัทจําหน่ายเครื่องมือแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์
4. ผู้ประกอบการคลินิกรังสีเทคนิค

          ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี ใช้ระบบทวิภาค (2 ภาคการศึกษาต่อปี) ภาคการศึกษาละ 15 สัปดาห์ กลุ่มรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนประกอบด้วย

  • กลุ่มรายวิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • กลุ่มรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • กลุ่มรายวิชาทางวิชาชีพรังสีเทคนิค ประกอบด้วย รายวิชาทางด้านรังสีวินิจฉัย รายวิชาทางด้านรังสีรักษา และรายวิชาทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ในสายวิทยาศาสตร์

  2. ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ปัจจุบันโรงเรียนรังสีเทคนิค ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด หลักสูตร ได้แก่ 

   1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2559) 

       ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในนักศึกษารหัส 60-64 

   2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) 

       ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในนักศึกษารหัส 65 

   3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566) 

       ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในนักศึกษารหัส 66 

โดยแต่ละหลักสูตร มีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) ดังนี้ 

>> รายละเอียดเพิ่มเติม  PLO <<

แผนการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2559)

แผนการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) 

แผนการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2566)

X

Contact