Program of Hospital Administrative Jobs Management Innovation (One year Course)
หลักสูตร

- ชื่อหลักสูตร
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
. ชื่อย่อ ป. (นวัตกรรมการจัดการงานธุรการสถานพยาบาล )
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Program of Hospital Administrative Jobs Management Innovation (One year Course)
. ชื่อย่อ Dip. (Hospital Administrative Jobs Management Innovation)
จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติงาน (WIL: Work Integrate Learning) เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีองค์ความรู้ มีทักษะและมีคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสม มีความพร้อมปฏิบัติงานในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถานพยาบาลตามความชำนาญเฉพาะที่ผู้เรียนเลือกศึกษาอย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานความมีคุณธรรม จริยธรรม และให้บริการด้วยหัวใจที่เป็นมนุษย์ เพื่อบรรลุเป้าหมายของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ และส่วนภูมิภาคอาเซียนรวมถึงการนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณลักษณะ “CREATE”
๑) “C” Creative and Knowledge Competency มีความรอบรู้และสามารถสรรหาองค์ความรู้ทางวิชาการและทักษะในการปฏิบัติศาสตร์และศิลป์ทางการจัดการงานธุรการสถานพยาบาล
๒) “R” Research Skill and Critical Mind มีความรู้และทักษะในการคิดวิเคราะห์ การศึกษาหาความรู้และความคิดสร้างสรรค์
๓) “E” Ethics ,Professionalism and Accountability มีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน
๔) “A” Administration and Collaboration มีความสามารถในการบริหารจัดการสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ มีทักษะในการประสานงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
๕) “T” Technology, Teaching and Communication Skills มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่น
๖) “E” Education(Life-Long-Learning) and Continuous Professional Development มีทักษะในการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการงานธุรการสถานพยาบาล สามารถประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
๑. ผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุนการให้บริการสุขภาพ ในหน่วยงานระดับต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานราชการ เหล่าทัพโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด องค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์การมหาชน เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
๒. ผู้ช่วยของนักวิชาการ ครู อาจารย์ในโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาระงานสายสนับสนุนการบริหารจัดการสถานพยาบาล
๓. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานฝ่ายสนับสนุนบริการสุขภาพและฝ่ายบริหารในโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือหน่วยบริการสุขภาพ รวมถึงศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่จะเปิดให้บริการ ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ได้แก่ กลุ่มผู้ช่วยธุรการในคลินิกแพทย์ กลุ่มผู้ช่วยธุรการห้องผ่าตัด กลุ่มผู้ช่วยธุรการห้องฉุกเฉิน กลุ่มผู้ช่วยธุรการรังสีการแพทย์ ดูแลงาน อาชีวอนามัยและป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานเภสัชกรรม กลุ่มผู้ช่วยธุรการผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานการเงินการคลังในสถานพยาบาล กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานประกันคุณภาพในสถานพยาบาล กลุ่มผู้ช่วยธุรการระบบงานสารสนเทศในสถานพยาบาล กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานเวชระเบียนในสถานพยาบาล กลุ่มผู้ช่วยธุรการระบบงานพัสดุในสถานพยาบาล
๔. ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนของสถานประกอบการ/ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านสุขภาพ เช่น กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานดูแลผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้ช่วยธุรการงานดูแลสุขภาพกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในชุมชน
๕. เครือข่ายการทำงานด้านสุขภาพ การจัดระบบสุขภาพ เครือข่ายการทำงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
๖. ผู้ช่วยธุรการนักวิจัยด้านสุขภาพ นักวิจัยท้องถิ่น
๑. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือปริญญาตรีสาขาอื่นที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
๒. อายุ ๒๐ ปีขึ้นไป
๓. เพศชาย จะต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๓
๔. ผ่านการประเมินสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
๑. เป็นระบบทวิภาคตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดย ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษา โดยหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์
๒. รายวิชาภาคทฤษฎี ใช้เวลาบรรยาย หรือการอภิปรายปัญหา หรือการศึกษาเทียบเท่าที่ใช้เวลา ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๓. รายวิชาภาคปฏิบัติในการทดลอง ใช้เวลา ๒-๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า ๓๐ – ๔๕ ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๔. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน