1. ให้ผู้สมัครตอบแบบสอบถามทุกข้อตามความเป็นจริง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อ
2. เมื่อตอบแบบสอบถามเสร็จแล้วให้กดปุ่มส่ง (Submit)
3. ให้กดปุ่มบันทึกคำตอบ (Save my response)
4. ไปที่แบบฟอร์มที่บันทึกคำตอบไว้ โดยกดที่ข้อความ (Filled form)
5. ให้ผู้สมัครพิมพ์แบบสอบถามเป็น pdf file โดยคลิกขวาและเลือกพิมพ์ (Print) แล้วเลือก Save as PDF
6. ให้ใช้ pdf file นี้แนบกับใบสมัครตามลิงก์ที่ใช้ในการสมัคร

หลักสูตรนี้มีจุดเด่นอย่างไร?

ตอบ

  • เป็นหลักสูตรปริญญาโท แผนวิชาชีพ (ไม่กำหนดให้ทำวิทยานิพนธ์วิจัย)
  • เน้นการฝึกงาน (540 ชั่วโมง) เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ
  • เรียนแบบชุดวิชา (module) เพื่อบูรณาการความรู้ให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน
  • จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งออนไซต์และออนไลน์ (onsite and online classes)
  • มีความยืดหยุ่นในระยะเวลาศึกษาโดยกำหนดมาตรฐานชัดเจน (flexible time fixed standard)
  • สามารถเรียนควบคู่กับการทำงานประจำได้

ผู้ที่เคยเรียนหลักสูตรอบรมเฉพาะทางด้านรังสีเทคนิค (หลักสูตร 1 ปี) สามารถเข้ามาเรียนต่อเพื่อให้ได้รับปริญญาโทได้หรือไม่?

ตอบ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพสนับสนุนให้เข้ามาศึกษาต่อเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและได้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท  โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตที่สอบผ่านมาแล้วได้

ผู้ที่ทำงานอยู่สามารถเรียนไปพร้อมกับทำงานได้หรือไม่?
ตอบ หลักสูตรออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยผู้เรียนสามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยได้ ในวิชาบรรยายผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากแหล่งความรู้ที่ทางหลักสูตรจัดไว้ให้ในรูปแบบวีดีโอและเอกสารประกอบการสอน นอกจากนี้อาจารย์ประจำวิชาจัดการเรียนแบบไฮบริด/ออนไลน์/ออนไซต์ เพื่อเสริมความรู้ในหัวข้อที่จำเป็นและตอบคำถามต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจดียิ่งขึ้น

หลักสูตรมีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรเท่าไร?

ตอบ แต่ละสาขา (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอ) ในหลักสูตรมีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 240,000 บาท โดยประมาณจากระยะเวลาการศึกษา 1.5 ปี  ทั้งนี้ผู้ที่เคยศึกษาหลักสูตรอบรมเฉพาะทางด้านรังสีเทคนิค (หลักสูตร 1 ปี) สามารถเทียบโอนหน่วยกิตที่สอบผ่านมาแล้วในหลักสูตรอบรมเฉพาะทางด้านรังสีเทคนิค (หลักสูตร 1 ปี) มาเป็นหน่วยกิตในหลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิตนี้ได้ ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการศึกษา

สามารถเรียนทั้งสองสาขาวิชาได้หรือไม่?

ตอบ ผู้ที่สนใจและมีความจำเป็นในการทำงาน สามารถเรียนได้ทั้งสองสาขาวิชา โดยระยะเวลาในการศึกษาและค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นแล้วแต่ความสามารถในการเรียนของนักศึกษา

ผู้ที่ไม่ได้จบวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หรือยังไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ สามารถเรียนได้หรือไม่?

ตอบ ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนิค และผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่กำหนด แต่ยังไม่มีใบประกอบโรคศิลปะสามารถสมัครได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของคณะกรรมการหลักสูตรด้วย

หลักสูตรมีการจัดการฝึกงานอย่างไร?

ตอบ หลักสูตรจัดการฝึกงาน 3 รายวิชาคือ
(1) การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก จำนวน 2 หน่วยกิต
(2) การฝึกงานทางคลินิก 1 จำนวน 4 หน่วยกิต และ
(3) การฝึกงานทางคลินิก 2 จำนวน 6 หน่วยกิต
ซึ่งแต่ละรายวิชาจะเป็นการฝึกงานในสถานที่จริง โดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติกับอาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษาฝึกงาน โดยนักศึกษาจะต้องทำแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) โดยแต่ละรายวิชามีจำนวนเคสและระดับขั้นที่ต้องใช้ความสามารถที่สูงขึ้นแตกต่างกัน  นักศึกษาจะต้องรายงานผลกับอาจารย์ผู้ดูแลเป็นระยะ ๆ และทำการสอบสัมภาษณ์ในแต่ละรายวิชาเพื่อผ่านการฝึกงานในรายวิชานั้น

หลักสูตรมีทุนการศึกษาหรือไม่?

ตอบ ในปีการศึกษา 2567 นี้ หลักสูตรยังไม่มีทุนการศึกษา

ถ้าสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากหลักสูตรแล้ว สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกได้หรือไม่?

ตอบ การเรียนต่อปริญญาเอกขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหลักสูตรที่จะสมัคร

ยังไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษ หรือคะแนนภาษาอังกฤษที่มีไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถสมัครได้หรือไม่?

ตอบ สามารถสมัครได้  การพิจารณาให้เข้าศึกษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

Faculty of Health Science Technology, HRH Princess Chulabhorn

College of Medical Science, Chulabhorn Royal Academy